รู้หรือไม่ว่า ก่อนจะจ้างบริษัท รับสร้างบ้าน 3 ชั้น ที่สูงเกิน 10 เมตร มีข้อกฎหมายที่ต้องรู้และปฏิบัติตามอยู่มากมาย เชื่อว่า คงมีหลายคนที่ยังไม่รู้และทำผิดข้อกฎหมายเหล่านี้ จนอาจจะต้องมีการปรับปรุง ซ่อมแซม หรือลดทอนรายละเอียดของบ้าน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายตามมามากมายอย่างแน่นอน ดังนั้น การทราบข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างบ้าน 3 ชั้นที่สูงเกิน 10 เมตร จะช่วยให้คุณไม่ต้องพบเจอกับปัญหาเหล่านี้ แน่นอนว่าในวันนี้ก็ได้รวบรวมข้อกฎหมายที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการสร้างบ้าน 3 ชั้นที่สูงเกิน 10 เมตรมาให้คุณได้รู้กัน หากคุณกังวลว่าจะมีส่วนใดที่ไม่ถูกต้อง ก็รีบไปติดตามให้ครบ และกลับไปแก้ไขกันดีกว่า
ทำความรู้จัก “ระยะร่น” และ “ที่เว้นว่าง” ก่อนจ้างบริษัท รับสร้างบ้าน 3 ชั้น
ก่อนที่จะเข้าไปดูว่า ข้อกฎหมายในการสร้างบ้าน 3 ชั้นที่สูงเกิน 10 เมตร เราขอพาไปทำความรู้จักกับ 2 คำที่จะพบได้บ่อยในข้อกฎหมายเหล่านี้กันก่อน นั่นก็คือคำว่า “ระยะร่น” และ “ที่เว้นว่าง” ไปดูกันดีกว่าว่า 2 คำนี้มีความสำคัญอย่างไร รวมถึงมีข้อกำหนดอะไรที่ควรทราบบ้าง
ระยะร่น คือ ระยะห่างที่วัดจากตำแหน่งบนทางสาธารณะจนถึงแนวอาคาร ซึ่งมีทั้งการวัดจากเขตถนนและวัดจุดกึ่งกลางถนน โดยระยะร่นของบ้านเดี่ยว ตึกแถว และอาคารสำนักงาน ก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทอาคารและขนาดของถนน ซึ่งระยะร่นจะต้องเป็นพื้นที่ว่างจากถนนจนถึงอาคาร โดยไม่สนใจแนวเขตที่ดินที่จะสร้างอาคารนั้น
ที่เว้นว่าง คือ ระยะห่างที่วัดจากแนวเขตที่ดินจนถึงแนวอาคารทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดที่เว้นว่างไว้ทั้งอาคารเดี่ยว และอาคารชุดที่เรียงติดกัน ดังนั้น ที่เว้นว่างกับระยะร่นบ้านจึงมีความแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดตามกฎกระทรวงฯ ที่สรุปเฉพาะหัวข้อที่จำเป็นต้องทราบ ดังนี้
ข้อกำหนดเกี่ยวกับที่เว้นว่าง (หมวดที่ 3)
พื้นที่ว่างภายนอกอาคาร (ข้อ 33)
– กรณีที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างภายนอกอาคารไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ชั้นที่กว้างที่สุด
– กรณีไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ชั้นกว้างที่สุด
กรณีห้องแถวหรือตึกแถว (ข้อ 34)
– หากอาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้น และไม่ได้ตั้งอยู่ติดกับถนนสาธารณะ ต้องมีที่เว้นว่างหน้าอาคารอย่างน้อย 6 เมตร
– หากอาคารสูงเกิน 3 ชั้นและไม่ได้ตั้งอยู่ติดกับถนนสาธารณะ ต้องมีที่เว้นว่างหน้าอาคารอย่างน้อย 12 เมตร
– ต้องมีที่เว้นว่างหลังอาคารอย่างน้อย 3 เมตร
– ทุก ๆ 10 คูหาหรือความยาว 40 เมตร ต้องมีที่เว้นว่างอย่างน้อย เมตร และเป็นช่องตลอดความลึกของที่ดิน
กรณีบ้านแถวที่ใช้อยู่อาศัย (ข้อ 36)
– บ้านแถวต้องมีที่เว้นว่างด้านหน้าอาคารอย่างน้อย 3 เมตร ด้านหลังอาคารอย่างน้อย 2 เมตร
– ทุก ๆ 10 คูหาหรือความยาว 40 เมตร ต้องมีที่เว้นว่างอย่างน้อย 4 เมตร และเป็นช่องตลอดความลึกของที่ดิน
กรณีบ้านแฝด (ข้อ 37)
– ต้องมีที่เว้นว่างด้านหน้าอาคารอย่างน้อย 3 เมตร
– ต้องมีที่เว้นว่างด้านหลังและด้านข้างอาคารอย่างน้อย 2 เมตร
ข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะร่น (หมวดที่ 4)
กรณีอาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้น หรือ 8 เมตร (ข้อ 41 วรรค 1)
– หากถนนกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ต้องมีระยะร่นจากจุดกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 3 เมตร
กรณีอาคารสูงเกิน 2 ชั้น หรือ 8 เมตร หรือเป็นอาคารชุด (ข้อ 41 วรรค 2)
– หากถนนกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องมีระยะร่นจากจุดกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 6 เมตร
– หากถนนกว้างตั้งแต่ 10-20 เมตร ต้องมีระยะร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างถนน
– หากถนนกว้างเกิน 20 เมตร ต้องมีระยะร่นจากเขตถนนอย่างน้อย 2 เมตร
กรณีอาคารอยู่ใกล้แหล่งน้ำสาธารณะ (ข้อ 42)
– หากแหล่งน้ำกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องมีระยะร่นจากเขตแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 3 เมตร
– หากแหล่งน้ำกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ต้องมีระยะร่นจากเขตแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 6 เมตร
– หากเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องมีระยะร่นจากเขตแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า 12 เมตร
กรณีการสร้างรั้ว (ข้อ 47)
– รั้วหรือกำแพงที่สร้างติดกับเขตถนน และมีระยะร่นรั้วจากเขตถนนน้อยกว่าความสูงของรั้ว ให้ก่อสร้างรั้วได้สูงไม่เกิน 3 เมตร โดยวัดจากระดับทางเท้าหรือถนน
ก่อนจ้างบริษัท รับสร้างบ้าน 3 ชั้น คุณรู้ข้อกฎหมายเหล่านี้แล้วหรือยัง?
ได้เข้าใจความหมายของระยะร่น และที่เว้นว่าง รวมถึงข้อกำหนดคร่าว ๆ กันไปแล้ว ต่อไปก็ถึงเวลาของข้อกฎหมายสำหรับบ้าน 3 ชั้นที่สูงเกิน 10 เมตร ใครที่กำลังคิดจะสร้างบ้าน 3 ชั้น ต้องไปดูให้ครบ
ความสูง ความกว้าง และที่เว้นว่าง
– ถ้าที่ดินหน้ากว้างไม่ถึง 12 เมตร จะสร้างบ้านสูงเกิน 23 เมตรไม่ได้
– ความสูงของบ้านเดี่ยวไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใด ต้องไม่เกิน 2 เท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวถนนด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด (ข้อ 49)
– บ้านเดี่ยวสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป โครงสร้างหลักของบ้าน เช่น เสา บันได และผนังของอาคาร จะต้องทำด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟ เช่น ปูน (ข้อ 24)
– บ้านต้องมีพื้นที่ว่างอย่างน้อย 30% ของพื้นที่ที่ดินทั้งหมดที่สร้างบ้านนั้น โดยพื้นที่ว่างนี้ไม่จำเป็นต้องปล่องว่าง แต่สามารถทำเป็นบ่อน้ำ สระว่ายน้ำ บ่อพักน้ำเสีย ที่พักขยะ หรือที่จอดรถได้ ตราบเท่าที่ไม่มีหลังคาหรือสิ่งก่อสร้างปกคลุม (ข้อ 52)
ระยะห่าง จากข้างบ้านหรือหลังบ้านที่ติดกัน
– สำหรับบ้าน 3 ชั้นขึ้นไป ที่อยากให้มีช่องเปิด เช่น ประตู หน้าต่าง ช่องระบายอากาศ หรือระเบียง จะต้องห่างจากบ้านติดกันไม่น้อยกว่า 3 เมตร (ข้อ 54)
– ถ้าบ้านเดี่ยวที่จะสร้างมีพื้นที่เกิน 300 เมตร แต่สูงไม่เกิน 15 เมตร จะต้องเว้นที่ว่างรอบแนวเขตที่ดิน รวมถึงด้านข้างบ้าน และหลังบ้าน อย่างน้อย 1 เมตร (ข้อ 55 วรรค 1)
– ถ้าบ้านเดี่ยวที่จะสร้างมีพื้นที่เกิน 300 เมตร และมีความสูงเกิน 15 เมตร จะต้องเว้นที่ว่างรอบแนวเขตที่ดิน รวมถึงด้านข้างบ้าน และหลังบ้าน ไม่น้อยกว่า 2 เมตร (ข้อ 55 วรรค 2)
– ถ้าบ้านเดี่ยวที่จะสร้างมีพื้นที่ไม่เกิน 300 เมตร ไม่ว่าจะสูงมากกว่าหรือน้อยกว่า 15 เมตร ผนังด้านที่ไม่มีช่องเปิด จะสามารถสร้างห่างจากเขตที่ดินได้น้อยกว่า 1 เมตร ถ้าจะให้ห่างต่ำกว่า 50 เซนติเมตร ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินแปลงข้างนั้น (ข้อ 56)
บ้านเดี่ยวติดถนนสาธารณะ
– บ้านเดี่ยวสูงเกิน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 10 เมตร หรือมีพื้นที่เกิน 1,000 ตารางเมตร ที่ก่อสร้างใกล้ถนนสาธารณะ จะต้องร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 6 เมตร ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร <ข้อ 50 (1)>
– บ้านเดี่ยวสูงเกิน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 10 เมตร หรือมีพื้นที่เกิน 1,000 ตารางเมตร ที่ก่อสร้างใกล้ถนนสาธารณะ จะต้องร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10-20 เมตร
– บ้านเดี่ยวสูงเกิน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 10 เมตร หรือมีพื้นที่เกิน 1,000 ตารางเมตร ที่ก่อสร้างใกล้ถนนสาธารณะ จะต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 20 เมตร <ข้อ 50 (3)>
อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนก็คงจะได้ทราบข้อกฎหมายที่มีประโยชน์ต่อการออกแบบและสร้างบ้านกันไปแล้ว ใครที่กำลังตัดสินใจสร้างบ้านไม่ว่าจะบ้าน 2 ชั้น หรือบ้าน 3 ชั้น ก็อย่าลืมนำข้อกฎหมายเหล่านี้ไปใช้ในการออกแบบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
กฎหมายที่ต้องรู้ก่อน รับสร้างบ้าน 3 ชั้น สูงเกิน 10 ม. อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/