ผู้เขียน หัวข้อ: เช็คลิสต์ การสร้างแบรนด์ ก่อนเริ่มทำการตลาดออนไลน์  (อ่าน 250 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 524
  • ลงโฆษณา อย่างคุ้มค่าในการลงโฆษณา ได้ผลที่สุด รับจ้างโพส รับโปรโมทเว็บ
    • ดูรายละเอียด
การสร้างแบรนด์ เรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจควรทำก่อนเริ่มทำการตลาดออนไลน์ เชื่อว่าหลายคนที่ทำธุรกิจออนไลน์น่าจะเคยประสบปัญหาและมีคำถามแบบนี้

    เพราะอะไรสินค้าหรือบริการของเราจึงยังไม่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจออนไลน์เท่าที่ควร ทั้งที่เราก็มั่นใจว่าคุณภาพของเราดีกว่าคู่แข่งอีกหลาย ๆ เจ้า?
    ทำไมยิงแอดโฆษณาแล้วผลตอบรับยังไม่ดีเลย? ลูกค้าทักน้อย ยอดขายก็ยังน้อยอยู่
    นำสินค้าลง Marketplace แบบ Shopee , Lazada แต่ยังขายไม่ดีเลย เป็นเพราะอะไร?
    จัดโปรโมชั่นดีกว่าคู่แข่ง แต่ยอดขายกลับน้อยกว่า เป็นเพราะอะไร?

และอีกหลายคำถามทำนองนี้ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไปโฟกัสการแก้ปัญหาด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น เทคนิคการยิง Google Ads, เทคนิคการยิง Facebook Ads, เทคนิคการเขียนคอนเทนต์ เป็นต้น

ซึ่งจริง ๆ แล้วคำตอบและการแก้ปัญหาอาจจะง่ายกว่านั้นมาก นั่นคือ สินค้าหรือธุรกิจของคุณยังไม่มีการ สร้างแบรนด์ หรือยังสร้างแบรนด์ได้ไม่ดีพอนั่นเอง


การ สร้างแบรนด์ คืออะไร? สำคัญกับธุรกิจอย่างไร?

การ สร้างแบรนด์  คือ การหาจุดเด่นให้สินค้า ให้ธุรกิจ หรือ ให้บริษัทของเรา และนำมาสื่อสารให้ลูกค้ารับรู้และจดจำได้ โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ จุดเด่นที่ว่านี้ต้องมีความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน

ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจสินค้ากิ๊ฟช็อปที่นำเข้าสินค้ากิ๊ฟช็อปจากประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันนี้การนำเข้าสินค้าจากจีนไม่ใช่เรื่องยากเลย ใครๆ ก็ทำได้ เพราะมีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นแพลตฟอร์มอำนวยความสะดวกมากมาย ช่วยให้การซื้อขายและการนำเข้า-ส่งออกเป็นเรื่องง่าย เช่น Aribaba, Aliexpress และยังมีบริษัทที่รับจ้างนำเข้าสินค้าอีกเป้นจำนวนมาก

สำหรับผู้ที่นำเข้าสินค้ามาและขายทั้งอย่างนั้นโดยไม่ สร้างแบรนด์ ไม่มีการหาจุดเด่นหรือข้อแตกต่างจากคู่แข่งอะไรเลย จะกลายเป็นว่าเราขายสินค้าที่เหมือนกับเจ้าอื่นเป็นสิบเจ้าเป็นร้อยเจ้า

ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือ มีคู่แข่งที่ลูกค้านำไปเปรียบเทียบจำนวนมาก และปัจจัยสำคัญเลยที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อก็คือ ราคา เจ้าไหนที่ราคาถูกสุด ก็จะซื้อจากเจ้านั้น เป็นสงครามราคาที่ลูกค้าพร้อมเปลี่ยนใจไปจากเราได้เสมอเมื่อพบเจ้าที่ถูกกว่า

ในโลกออนไลน์ที่การค้นหาสินค้าต่าง ๆ ง่ายแค่ปลายนิ้วคลิก ลูกค้าจะสามารถจดจำได้เฉพาะสินค้าหรือธุรกิจที่มีแบรนด์เท่านั้น ดังนั้นการ สร้างแบรนด์ ที่ดี และการสื่อสารแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของธุรกิจออนไลน์ที่กล่าวถึงข้างต้นได้อย่างหมดจดทีเดียว


2 เช็คลิสต์การสร้างแบรนด์ที่ทุกธุรกิจควรทำก่อนเริ่มทำการตลาดออนไลน์

เช็คลิสต์การ สร้างแบรนด์ ข้อที่ 1: Brand Concept Check

คือ การตรวจสอบว่าแบรนด์ของเรา มีจุดเด่นหรือจุดแตกต่างที่ดีกว่าหรือเหนือกว่าคู่แข่ง แล้วหรือยัง? รวมถึงจุดเด่นนั้นมีพลังมากพอที่จะทำให้ลูกค้าสนใจหรือตัดสินใจซื้อสินค้าของเราหรือไม่?

ซึ่งจุดเด่นใน Brand Concept Check นี้ ทางการตลาดเราเรียกกันว่า Unique Selling Proposition หรือ USP หมายถึง จุดขายที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเหนือคู่แข่งที่อยากให้ลูกค้าจดจำได้ ซึ่งแบรนด์จำเป็นต้องสื่อสารประเด็น USP เหล่านี้ซ้ำ ๆ ผ่านทางคอนเทนต์ ผ่านทางโฆษณา ในทุก ๆ ช่องทางการตลาดที่แบรนด์มี


ตัวอย่างการหา Unique Selling Proposition เพื่อ การสร้างแบรนด์

จากตัวอย่างธุรกิจสมมติด้านล่างนี้ เป็นแบรนด์ธุรกิจน้ำผลไม้ กำหนดแบรนด์คอนเซปท์ที่เป็นจุดเด่นของแบรนด์ที่เหนือคู่แข่ง โดยลิสต์ออกมาได้ทั้งหมด 5 ข้อด้วยกัน ได้แก่ กระบวนการผลิต (PROCESS) รสชาติ (TASTE) แหล่งเพาะปลูก (SOURCE) ความเป็นธรรมชาติแท้ ๆ (NATURAL) ดีต่อสุขภาพ (HEALTHY)

ให้สังเกตว่าถึงแม้หัวข้อที่เลือกมาจะดูเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป ที่น้ำผลไม้ส่วนใหญ่ในท้องตลาดมักนำมาโฆษณากัน แต่เรามีการสร้างความแตกต่างที่โดดเด่นเพิ่มเติมขึ้นมาด้วยการใส่ส่วนอธิบายเพิ่มเติมที่ไม่เหมือนใคร เช่น เรื่องรสชาติที่ไม่แตกต่างจากการทานผลไม้สด ๆ หรือ เรื่องแหล่งเพาะปลูกที่ดีที่สุดของไทย ซึ่งคำขยายความเหล่านี้ ถ้าเราทำได้อย่างทรงพลังมากพอ และมีความสม่ำเสมอในการสื่อสารตอกย้ำเรื่อย ๆ ลูกค้าจะจดจำเราได้จากคำขยายความเหล่านี้นี่เอง


การนำ Unique Proposition ไปใช้ใน การสร้างแบรนด์ ธุรกิจ

ผู้ประกอบการหลายคนเจอปัญหาว่าไม่รู้ว่าจะโพสต์อะไร การที่เราทำ Unique Proposition นอกเหนือจากการหาจุดเด่นให้ตัวเอง หรือ การสร้างแบรนด์ ให้ตัวเองได้แล้ว เรายังได้ประเด็นสำคัญ ๆ ที่เราจะต้องนำไปสื่อสารในช่องทางการตลาดต่าง ๆ อีกด้วย

สิ่งที่เราต้องทำเป็นลำดับต่อไปหลังหา Unique Propostion หรือ จุดเด่นที่เป็นจุดขายของแบรนด์เราได้แล้วก็คือ การนำเอาจุดเด่นเหล่านี้ไปสื่อสารซ้ำ ๆ ให้ลูกค้า หรือ คนทั่วไปจำจดได้ว่าแบรนด์น้ำผลไม้ของเราดีกว่าเจ้าอื่นเพราะ 5 ประเด็นหลักตามที่เราลิสต์ออกมา ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออฟไลน์ เช่น โบรชัวร์ โปสเตอร์ ฉลากสินค้า ฯลฯ หรือช่องทางออนไลน์อย่าง Facebook, IG, เว็บไซต์ เป็นต้น

หลักการตรวจสอบ Brand Concept Check

    ดูว่าสินค้า หรือ แบรนด์ของเรา มี Unique Selling Proposition หรือยัง?
    ดูว่า Unique Selling Proposition ที่เรามีนั้น มีเอกลักษณ์โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งหรือไม่? มีส่วนขยายความที่เหนือกว่าหรือดีกว่าคู่แข่งอย่างไร?
    ต้องจดจำไว้เสมอว่า Brand Concept ที่ดี นอกจากต้องโดดเด่น และ แตกต่างจากคู่แข่งแล้ว ต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เมื่อนำไปสื่อสารย่อมมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ
    ถ้ามีครบทั้ง 3 ข้อแล้ว ให้ดูเรื่องการสื่อสาร ว่าการทำการตลาดของเราผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้สื่อสาร Brand Concept เหล่านั้นครบถ้วนแล้วหรือยัง? คำขยายความที่เลือกใช้ชัดเจนและทรงพลังมากเพียงพอให้ลูกค้าจดจำได้หรือไม่?

 
เช็คลิสต์การ สร้างแบรนด์ ข้อที่ 2: Brand Design Check

สำหรับเช็คลิสต์ข้อนี้ก็คือ การตรวจสอบว่าแบรนด์ของเรามีการกำหนดแนวทางการออกแบบอันเป็นเอกลักษณ์ แสดงตัวตนแบรนด์ของเราให้ลุกค้าและคนทั่วไปจดจำได้หรือไม่

Brand Design Check จะมีความแตกต่างจาก Brand Concept Check ตรงที่ Brand Concept Check จะเป็นเรื่องของการสื่อสาร แต่ Brand Design Check จะเป็นเรื่องของการออกแบบ จึงเป็นรูปธรรม จับต้องมองเห็นได้ชัดเจนมากกว่า และที่สำคัญคือ สามารถสร้างการจดจำแบรนด์ได้มากกว่า

 
Brand Design สำคัญกับธุรกิจอย่างไร?

การที่ลูกค้าจดจำเราได้ว่าเราเด่นเรื่องอะไรอาจจะยังไม่พอสำหรับการตลาดยุคปัจจุบันที่ในแต่ละวันคนเสพคอนเทนต์ต่าง ๆ กันเยอะมาก บางครั้งขณะที่เราเล่นเฟสบุ๊ค มักจะมีเนื้อหา มีรูปภาพ มีโฆษณาต่าง ๆ ปรากฏขึ้นมาในหน้า News Feed ของลูกค้าเราเต็มไปหมดเลย การที่เราสร้างเอกลักษณ์ในทางดีไซน์ของแบรนด์เราขึ้นมา จะช่วยทำให้ลูกค้าหรือคนทั่วไปจดจำเราได้ง่ายขึ้นค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราพูดถึงผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ ถ้าเป็นแบรนด์สีเขียวทุกคนจะตอบได้เลยว่า AIS ถ้าเป็นแบรนด์สีฟ้าทุกคนก็จะนึกถึงแบรนด์ DTAC และถ้าเป็นแบรนดืสีแดงก็จะนึกถึง TRUE แบบนี้เป็นต้น

สาเหตุที่เราจดจำได้ ก็เพราะว่าแบรนด์เหล่านี้มีการกำหนดลักษณะการออกแบบสื่อการตลาดต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน และนำเสนอการออกแบบที่กำหนดนั้นอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะทางออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ก็ตาม

จากตัวอย่างที่ยกมา ในธุรกิจให้บริการสัญญาณมือถือ มีแค่ 3 รายเท่านั้นที่เป็นเจ้าตลาด แต่ในโลกของธุรกิจที่เราทำการตลาดกันอยู่ บางธุรกิจอาจจะมีคู่แข่งมากเป็นสิบ ๆ ราย หรือเป็น 100 รายเลยก็ได้ หากเราทำการตลาดยิงโฆษณาเฟสบุ๊ค หรือยิง Google Ads ไปหาลูกค้า ลูกค้าจะเห็นโฆษณาเราเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้นก่อนจะเลื่อนปลายนิ้วผ่าน หรือ กดปิดโฆษณาไป หากเราไม่มีเอกลักษณ์ทางด้านดีไซน์หรือการออกแบบ ก็เป็นเรื่องยากที่ลูกค้าจะสามารถจดจำแบรนด์ของเราได้แม้ว่าจะเห็นโฆษณาของเราอยู่บ่อย ๆ ก็ตาม

 
Brand Design Book ช่วยกำหนดการออกแบบ

Brand Design Book หรือ Brand Identity Guideline คือ ข้อกำหนดด้านการออกแบบของแบรนด์ โดยส่วนใหญ่มักจัดทำออกมาเป็นรูปเล่ม หรือ รวบรวมเป็นอิเล็กทรอนิคส์ไฟล์ โดยมีองค์ประกอบการออกแบบที่กำหนดไว้ดังนี้

    โลโก้ และ วิธีการใช้โลโก้ที่ถูกต้อง รวมถึงข้อห้ามหรือการใช้โลโก้ที่ผิด
    คู่สีประจำแบรนด์
    ตัวอักษรประจำแบรนด์
    ลายกราฟิคประจำแบรนด์
    ไอคอนที่ออกแบบมาเฉพาะของแบรนด์
    การจัดวาง (lay out) ประจำแบรนด์
    สัญลักษณ์ที่ใช้แทนชื่อแบรนด์

 
ข้อแนะนำจาก StartUp Now

ในส่วนของแบรนด์ดีไซน์ ถ้าเราเป็น SME มีงบประมาณไม่มาก เราสามารถที่จะหาเอกลักษณ์บางอย่างด้วยตัวเองได้ เช่น อาจจะใช้คู่สี หรือคุม Mood & Tone ของการออกแบบในทุกๆ สื่อให้เหมือนหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น

-    หาสีประจำแบรนด์ และให้คุมโทนสีการออกแบบโดยใช้เฉดสีเดิมในทุกๆ ชิ้นงานออกแบบ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นโบชัวร์ เฟสบุ๊ค โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ต่าง ๆ
-    หาสัญลักษณ์แทนแบรนด์ของเรา เช่น นกแอร์มีสัญลักษณ์เป็นปากนก DTAC มีสัญลักษณ์กังหัน เป็นต้น และนำสัญลักษณ์เหล่านั้นไปใส่ไว้ในงานออกแบบ เช่น โพสต์ Facebook, รูปโปรไฟล์หรือภาพหน้าปก Facebook, ปกโบรชัวร์, คัทเอาท์, แบคดรอปที่ใช้ออกบูธ, ฯลฯ



เช็คลิสต์ การสร้างแบรนด์ ก่อนเริ่มทำการตลาดออนไลน์ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://businesssmarttools.com/