ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: เช็คลิสต์ระบบระบายน้ำที่ไม่ควรมองข้าม  (อ่าน 197 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 524
  • ลงโฆษณา อย่างคุ้มค่าในการลงโฆษณา ได้ผลที่สุด รับจ้างโพส รับโปรโมทเว็บ
    • ดูรายละเอียด
บริหารจัดการอาคาร: เช็คลิสต์ระบบระบายน้ำที่ไม่ควรมองข้าม

การซื้อบ้านเป็นหนึ่งในการตัดสินใจที่สำคัญของชีวิต โดยเฉพาะบ้านที่รีโนเวทใหม่ การเข้าใจ “ระบบระบายน้ำ” เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบและประเมินสภาพของบ้านก่อนทำการซื้อ ดังนั้น คู่มือนี้จะทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบระบายน้ำในบ้านที่จำเป็นทั้งหมด ไม่ว่าจะการทำงาน การติดตั้ง และการตรวจสอบ ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้


1.ระบบท่อน้ำดี
หน้าที่ : จ่ายน้ำสะอาดเข้าสู่บ้านสำหรับดื่ม ทำความสะอาด ประกอบอาหาร
การติดตั้ง : ควรติดตั้งโดยผู้มีความเชี่ยวชาญ และวางแผนท่ออย่างมีระเบียบเพื่อลดโอกาสในการรั่วซึมและทำให้การซ่อมแซมง่ายขึ้น

การตรวจสอบ
ตรวจสอบวัสดุท่อ : ควรเป็นวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนและทนทานต่อการกัดกร่อน
ตรวจสอบการเชื่อมต่อท่อ : ทุกจุดเชื่อมต่อควรแน่นหนาและไม่มีการรั่วซึม
ตรวจสอบความสะอาดของน้ำ: น้ำที่ไหลออกจากท่อควรสะอาดและปราศจากสี กลิ่น และรสที่ผิดปกติ


2.ระบบท่อน้ำเสีย
หน้าที่ : ระบายน้ำ เช่น น้ำจากอ่างล้างจาน อ่างล้างมือ ฝักบัว และเครื่องซักผ้า
การติดตั้ง : ควรออกแบบเพื่อป้องกันการอุดตัน มีช่องล้างท่อเพียงพอ

การตรวจสอบ
ตรวจสอบการอุดตัน : ควรมีการตรวจสอบช่องล้างท่อเป็นประจำเพื่อป้องกันการอุดตัน
ตรวจสอบกลิ่น : ไม่ควรมีกลิ่นเหม็นอับจากระบบท่อน้ำเสีย


3.ระบบท่อน้ำโสโครก
หน้าที่ : ระบายน้ำจากโถส้วมและโถปัสสาวะ
การติดตั้ง : การออกแบบและติดตั้งควรป้องกันการอุดตัน

การตรวจสอบ
ตรวจสอบการระบายน้ำ : น้ำควรไหลลงไปได้รวดเร็วโดยไม่มีการสะสมหรือล้นกลับ
 

4.ถังบำบัดน้ำเสีย
หน้าที่ : บำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพดีพอตามมาตรฐานก่อนระบายสู่ทางน้ำสาธารณะ
การเลือกขนาด : ควรพิจารณาจากพื้นที่ติดตั้งและปริมาณผู้ใช้

การตรวจสอบ
ตรวจสอบความเหมาะสมของขนาด : ขนาดของถังควรตรงกับปริมาณน้ำเสียที่ผลิต
ตรวจสอบการทำงาน : ควรมีการตรวจสอบระบบการบำบัดเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำเสียได้รับการบำบัดเหมาะสม


5.ถังดักไขมัน
หน้าที่ : ดักจับไขมันและน้ำมันจากน้ำเสียไม่ให้ไหลปนไปกับน้ำทิ้ง
การติดตั้ง : ควรเลือกแบบที่สะดวกสำหรับการใช้งานและการบำรุงรักษา

การตรวจสอบ
ตรวจสอบการสะสมไขมัน : ควรทำความสะอาดถังดักไขมันเป็นประจำเพื่อป้องกันการอุดตัน
ตรวจสอบความแน่นหนา : ตรวจสอบว่าฝาปิดและตัวถังมีความแน่นหนา ไม่มีการรั่วซึม