ผู้เขียน หัวข้อ: บริการด้านอาหาร: ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ห้ามกินอะไรบ้าง  (อ่าน 39 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 524
  • ลงโฆษณา อย่างคุ้มค่าในการลงโฆษณา ได้ผลที่สุด รับจ้างโพส รับโปรโมทเว็บ
    • ดูรายละเอียด
บริการด้านอาหาร: ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ห้ามกินอะไรบ้าง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคไต หรือโรคอื่นๆ จำเป็นอน่างยิ่งที่จะต้องระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหาร เพราะสารอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้น มีผลต่ออาการป่วย อาจะทำให้อาการป่วยดีขึ้น หรือแย่ลงก็ได้ ซึ่งในปัจจุบัน โรคที่คนไทยหลายคนกำลังประสบพบเจอ หนีไม่พ้นโรคที่เกิดจากอาหารการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และไม่ถูกหลักโภชนาการ การรับประทานอาหารที่ไม่มีความสมดุล รับประทานอาหารบางอย่างมากเกินไป และเมื่อสะสมนานๆวันเข้า สุดท้ายอาจเป็นโรคไตได้

แต่นอกจาก อาหารเค็มแล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่คนเป็นโรคไตวายเรื้อรัง หรือที่กำลังฟอกไตอยู่ควรระวัง คนที่เป็นโรคไตส่วนใหญ่ แพทย์จะแนะนำให้เลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัส เพราะจะทำให้อาการของโรคไตแย่ลง เพราะเมื่อไตของเรากำลังเสื่อม ก็จะมีความสามารถในการกรองเอาสารอาหารประเภทฟอสฟอรัสออกมาได้น้อยลง เพราะฉะนั้น ก็แปลว่า ยิ่งรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสเข้าไปมากเท่าไร มันก็สะสมอยู่ในร่างกายไม่ออกไปไหนซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้น วันนี้เราจะมาพูดถึงอาหารที่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ควรที่จะหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดอาการกำเริบหรืออาการยิ่งแย่ลงไปอีก

สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่กำลังอยู่ในภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูง สังเกตอาการได้ง่ายๆ คือจะรู้สึกผิวหนังดำคล้ำมากขึ้น คันยิบๆ ตามตัวจนรู้สึกรำคาญ หรือหากเป็นหนักๆ นานเข้า อาจถึงขั้นกระดูกเปราะหรือหักได้ง่ายเลยทีเดียว นอกจากนี้ อาจมีอาการต่อมพาราไทรอยด์โต และซ้ำร้าย อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ใช้ในการฟอกเลือด


สำหรับคนที่กำลังฟอกไตอยู่ได้ เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง นอกจากอาหารเค็มแล้ว อาหารที่ควรเลี่ยงมีอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นการรับประทาอาหารที่มีโซเดียมมาก เช่น ผงชูรส ผงปรุงรส ซุปก้อน ผงฟู ซอสต่าง ๆ หรืออาหารหมักดอง เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักกาดดอง เนื้อสัตว์ปรุงรสหรือแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แฮม หมูหยองและอาหารเติมเกลือ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวต้ม/โจ๊กซอง นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอล หรือไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไข่แดง ไข่ปลา ปลาหมึก หอยนางรม ขาหมู รวมทั้งอาหารที่มีส่วนผสมของเนย และครีม เช่น เค้ก พิซซ่า และผลิตภัณฑ์ขนมอบ ลดการรับประทานเนื้อสัตว์ลงโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น คอหมูย่าง เอ็นหมู เอ็นวัว ข้อไก่ รวมทั้งอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องในสัตว์ เมล็ดถั่ว กุ้งแห้ง แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีโพแทสเซียมในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผัก

ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น หัวปลี แครอท หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม ผักคะน้า กล้วย ฝรั่ง ลูกพรุน น้ำมะพร้าว เป็นต้น และควรรับประทานไข่ขาววันละ 1-2 ฟอง ใช้น้ำมันถัวเหลือง น้ำมันรำข้าว ในการประกอบอาหาร โดยวิธีการประกอบอาหาร ควรใช้วิธีการ ย่าง ต้ม และอบ แทนวิธีการทอด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคไตควรพบแพทย์และใช้หลักการของอาหารบำบัดที่เหมาะสม โดยในแต่ละมื้อควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย แต่ในขณะเดียวกันก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดการสะสมของเสียในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้ไตต้องทำงานหนักและอาจเร่งให้ไตเสื่อมเร็วมากขึ้นกว่าเดิม เห็นมั้ยว่า การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับร่างกายของเรานั้น มีผลต่อการเกิดโรคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนป่วย หรือคนที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม จึงเป้นเรื่องที่สำคัญมาก

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิตคือ เราควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะทางเราเน้นย้ำมาตลอดให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ที่สำคัญเราจะต้องดูแลตัวเองให้มากๆ ดื่มน้ำมากๆ และต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขภาพร่างกายของเรา 

ดังนั้น เราควรพยายามรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และรับประทานในแต่ละหมู่ให้มีความหลากหลาย  ไม่จำเจอยู่เพียงอาหารไม่กี่ชนิด  เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารต่างๆ ครบในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพราะร่างกายของเราจำเป็นที่ต้องได้รับสารอาหารให้ครบถ้วนให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายมีความสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ