ผู้เขียน หัวข้อ: ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: เมื่อไหร่ต้องไปตรวจโควิด19  (อ่าน 334 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 525
  • ลงโฆษณา อย่างคุ้มค่าในการลงโฆษณา ได้ผลที่สุด รับจ้างโพส รับโปรโมทเว็บ
    • ดูรายละเอียด
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: เมื่อไหร่ต้องไปตรวจโควิด19
« เมื่อ: วันที่ 31 กรกฎาคม 2024, 19:50:26 น. »
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: เมื่อไหร่ต้องไปตรวจโควิด19

ในสถานการณ์ที่เชื้อโควิด19 กำลังระบาดหนัก หลายคนอาจจะมีคำถามว่า “เราติดหรือยัง” แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถตรวจหาเชื้อโควิด19 ได้ เพราะผู้ที่สามารถตรวจหาเชื้อโควิด19 ได้จะต้องเป็นผู้ที่เข้าเกณฑ์ดังนี้

    มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาขึ้นไป
    หรือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น

    ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

นอกจากนี้อาการโควิด19 ระลอกใหม่ที่ระบาดในช่วงเดือน เม.ย.64 นี้ พบผู้ป่วยมีอาการทางผิวหนังเพิ่มเติม ได้แก่

    มีผื่นขึ้นที่เท้า หรือนิ้วเท้า โดยมีลักษณะเฉพาะเป็นตุ่มหรือผื่นแดง ลักษณะคล้ายตาข่าย หรือเส้นใยเล็ก ๆ ขึ้นที่เท้า หรือบริเวณผิวหนังส่วนอื่น ๆ มักพบในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่มาก
    ข้อสังเกต ผื่นโควิด19

** มีผื่นแดง ลักษณะคล้ายตาข่าย
** มีจุดเลือดออก
** มีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ
** บางรายอาจมีลักษณะตุ่มน้ำคล้ายโรคสุกใส
** ซึ่งจะเกิดอาการฉับพลัน ร่วมกับอาการมีไข้ ไอ จาม และระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ

    บางรายอาจมีอาการเกี่ยวกับตา เช่น เยื่อบุตาอักเสบหรือบวม ,ตาแดง,น้ำตาไหล,ระตายเคืองตา,คันตา,มีขี้ตา,ตาสู้แสงไม่ได้
    ผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
    ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
    เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่สงสัย หรือผู้ป่วยยืนยันว่าเป็นโควิด19
    เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน


ประชาชนทั่วไปเมื่อไหร่ ต้องไปตรวจโควิด19 แบบเข้าใจง่าย ๆ เป็นกรณี

กรณีที่ 1 : ไม่มีอาการ ไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 และไม่ได้กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง
>> ไม่ต้องไปตรวจ

กรณีที่ 2  : ไม่มีอาการ สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 และกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง
>> ยังไม่ต้องไปตรวจ “กักตัวเอง 14 วัน” สังเกตอาการตัวเอง หากมีไข้สูงขึ้น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อยให้ไปตรวจ

กรณีที่ 3 : มีไข้ ไอ มีน้ำมูก แต่ไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 และไม่ได้กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง
>> ยังไม่ต้องไปตรวจ “กักตัวเอง 14 วัน” สังเกตอาการตัวเอง หากมีไข้สูงขึ้น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อยให้ไปตรวจ

กรณีที่ 4 :  มีอาการเล็กน้อย มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 และกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง
>> ให้รีบไปตรวจหาเชื้อโควิด19

กรณีที่ 5 : มีไข้สูง ไอ หอบเหนื่อย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หรือมีอาการตาแดง เป็นผื่น
>> ให้รีบไปตรวจหาเชื้อโควิด19

กรณีที่ 6 : มีไข้สูง ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย + เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว และมีอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน
>> ให้รีบไปตรวจหาเชื้อโควิด19

เมื่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ควรทำอย่างไร?

กลุ่มที่ 1 : ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือมีโอกาสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ มีการพูดคุยกันตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไป โดยที่ไม่ใส่หน้ากากอนามัย มีการไอ จามใส่กัน มีการกินอาหารจาน ช้อน หรือดื่มเครื่องดื่มแก้วเดียวกัน หรืออยู่ในห้องเดียวกัน นานกว่า 15 นาทีโดยที่อากาศไม่ถ่ายเท และไม่มีการใส่หน้ากากอนามัย


สิ่งที่ต้องดำเนินการ

    กักตัว 14 วัน จะเป็นแบบกักตัวเองที่บ้าน หรือในสถานที่ราชการกำหนด (แล้วแต่กรณี)
    ตรวจหาเชื้อโควิด19

ครั้งที่ 1 หลังจากที่ทราบว่าเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แม้ว่าผลการตรวจในครั้งแรกจะเป็นลบ ก็ยังไม่ได้บอกว่าจะปลอดภัย ขอให้กักตัวอยู่ที่บ้าน และใส่หน้ากากอนามัยให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ไม่ควรอยู่ที่ชุมชน หรือพบปะบุคคลอื่นเด็ดขาด

ครั้งที่ 2 หลังจากตรวจครั้งที่ 1 ไปแล้ว 7 วัน

ครั้งที่ 3 หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการ สามารถตรวจเพิ่มเติมได้

กลุ่มที่ 2 : ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ สามารถทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตปกติได้ แต่แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการพบปะคนหมู่มาก และสังเกตอาการตัวเอง

 สำหรับผู้ที่ไปตรวจหาเชื้อโควิด19 ระหว่างรอผลตรวจควรทำอย่างไร

    งดออกจากที่พัก หรือจังหวัดที่อาศัย
    งดไปสถานที่ชุมชน หรือสถานที่แออัด หรือมีคนเยอะ
    งดใกล้ชิดครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็ก
    ใส่หน้ากากอนามัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    กักตัวต่อให้ครบ 14 วัน